ค่าบริการให้คำปรึกษาจากบริษัทต่างประเทศ อาจจะถือเป็นค่าสิทธิได้

ข้อเท็จจริง บริษัทจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายของประเทศสก็อตแลนด์ (บริษัทฯ) ประกอบกิจการ ให้บริการทดลองทางเคมีแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำมันแก่ประเทศต่างๆ และไม่มี สำ นักงานสาขาหรือสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย ได้ให้บริการทาง วิทยาศาสตร์เคมีแก่บริษัทในประเทศไทย โดยบริษัทในประเทศไทยจะตกลงกับบริษัทฯ ให้ส่งนักวิทยาศาสตร์เคมีชาวต่างชาติเข้ามาเพื่อตรวจสอบส่วนประกอบของน้ำมันร่วมกับ นักวิทยาศาตร์เคมีชาวไทย ตามวิธีการตรวจสอบน้ำมันตามหลักสากลว่าตรงตาม ส่วนประกอบตามที่ลูกค้าต้องการหรือไม่ ไม่เป็นความลับ และไม่มีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือส่วนผสมของน้ำมันแต่อย่างใด การเปลี่ยนแปลงสูตรหรือ ส่วนผสมของน้ำมันจะขึ้นอยู่กับบริษัทในประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการเองเท่านั้น กรมสรรพากรได้วินิจฉัยโดยสรุปว่า หากการให้คำปรึกษาทางเคมีของบริษัทต่างประเทศเป็นการให้คำปรึกษาที่มีลักษณะเป็น การถ่ายทอดความรู้ที่มีลักษณะเฉพาะตัว มิใช่ความรู้โดยทั่วไปแล้ว ค่าตอบแทนดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือทางวิทยาศาสตร์ เป็นค่าสิทธิ ตามข้อ 13 วรรคสาม แห่งอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่าง ประเทศไทยและสหราชอาณาจักรอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือ ดังนั้น เมื่อบริษัทใน ประเทศไทยจ่ายค่าตอบแทนจากการให้บริการดังกล่าวให้กับบริษัทฯ บริษัทในประเทศ ไทยจึงมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินและนำส่งตามมาตรา 70 แห่งประมวล รัษฎากร

4 กรกฎาคม 2549


Copyright (c) 2014 - 2024 narongaccounting.co.th All rights reserved.
System developed by CRiT SERVICE | CHECK MAIL | BOOKMARK | NR SERVICE