รายรับล่วงหน้าผลงานยังไม่เกิดไม่ถือเป็นรายได้

รายรับล่วงหน้าผลงานยังไม่เกิดไม่ถือเป็นรายได้ พิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2544 ข้อเท็จจริง : บริษัท (โจทก์) ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2532 โจทก์ได้รับค่าจ้างรับล่วงหน้า จำนวน 12.7 ล้านบาท และโจทก์ได้นำมาคำนวณเป็นรายได้ตามส่วนของงานที่ทำเสร็จในรอบระยะเวลาบัญชีในปี 2532 แล้ว คงเหลือค่าจ้างล่วงหน้าที่โจทก์รับมาแล้ว แต่ยังไม่มีผลงานให้แก่ผู้ว่าจ้างอยู่อีกจำนวน 2.7 ล้านบาทประเด็นที่ต้องพิจารณาโจทก์ต้องนำค่าจ้างรับล่วงหน้าจำนวน 2.7 ล้านบาท มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 หรือไม่ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาโดยสรุปว่าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง บัญญัติว่า?การคำนวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่งให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น?และคำว่า ?เกณฑ์สิทธิ? คือ เกณฑ์การรับรู้รายได้และรายจ่ายโดยการนำรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้น หรือเป็นของรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้ถือเป็นรายได้และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับเงินสดหรือจ่ายเงินสดออกไปแล้วหรือไม่ ดังนั้น รายได้และรายจ่ายเมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว หากยังไม่ได้รับหรือจ่ายงินจะถือเป็นรายได้ค้างรับหรือรายจ่ายค้างจ่าย และต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิด้วย ในทำนองเดียวกัน หากรายได้ใดได้รับล่วงหน้าหรือรายจ่ายใดได้จ่ายล่วงหน้าเป็นค่าสินค้าหรือค่าบริการ โดยที่ยังไม่ได้ให้ประโยชน์แก่ลูกค้าหรือรับประโยชน์จากผู้ให้บริการ ก็ยังไม่ถือเป็นรายได้และรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น จึงไม่ต้องนำรายได้รับล่วงหน้าหรือรายจ่ายล่วงหน้าดังกล่าวไปรวมคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ข้อ 2 ซึ่งระบุว่า ?การคำนวณ รายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น?? และข้อ 4.4 ระบุว่า ?การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการก่อสร้างให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนำรายได้ตามส่วนของงานที่ทำเสร็จในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น?ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในรอบระยะเวลาบัญชีในปี 2532 โจทก์ได้รับค่าจ้างและค่าจ้างรับล่วงหน้าจำนวน 12.7 ล้านบาท และโจทก์ได้นำมาคำนวณเป็นรายได้ตามส่วนของงานที่ทำเสร็จในรอบระยะเวลาบัญชีในปี 2532 แล้ว คงเหลือค่าจ้างล่วงหน้าที่โจทก์รับมาแล้ว แต่โจทก์ยังมิได้มีผลงานให้แก่ผู้ว่าจ้างอยู่อีกจำนวน 2.7 ล้านบาท โจทก์จึงไม่ต้องนำค่าจ้างรับล่วงหน้าจำนวน 2.7 ล้านบาท มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532ข้อสังเกต จากผลของคำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น อาจจะมีผลต่อการให้บริการตามสัญญาระยะยาว หรือกิจการสนามกอล์ฟ ตามข้อ 4.7 แห่งคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 ซึ่งกำหนดให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องนำรายได้ที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บ ในลักษณะเป็นเงินก้อนเพื่อตอบแทนการเก็บในลักษณะค่าสมาชิก เงินประกัน เงินมัดจำ เงินจ่ายล่วงหน้า เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทำนองเดียวกันมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้เริ่มให้บริการหรือจะนำรายได้นั้นมาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีตามสัญญาแต่ไม่เกินสิบปี และนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามสัญญา แต่ไม่เกินสิบรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้เริ่มให้บริการก็ได้

24 มกราคม 2549


Copyright (c) 2014 - 2024 narongaccounting.co.th All rights reserved.
System developed by CRiT SERVICE | CHECK MAIL | BOOKMARK | NR SERVICE