พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 552 ด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน

การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการรับจ้างผลิตสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการรวมกันไม่เกินสามสิบล้านบาทต่อปีในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธิ ให้หักได้ดังต่อไปนี้ (๑) ร้อยละหนึ่งร้อยของมูลค่าต้นทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ (๒) หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นทรัพย์สินซึ่งได้ซื้อมาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน (๒) อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ตามประสงค์ภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ (๓) ไม่เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาขอรับสิทธิประโยชน์สนับสนุนจากส่วนราชการ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เพื่อการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงาน (๔) ไม่เป็นทรัพย์สินที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (๕) ไม่เป็นทรัพย์สินที่ใช้สิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา ๔ เอกาทศ (๖) ไม่เป็นทรัพย์สินที่เกิดจากรายจ่ายซึ่งได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๙๗) พ.ศ. ๒๕๓๙ (๗) ไม่เป็นทรัพย์สินที่เกิดจากรายจ่ายตามมาตรา ๖๕ ตรี (๕) แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๓๒) พ.ศ. ๒๕๕๔”



1 ธันวาคม 2555


Copyright (c) 2014 - 2024 narongaccounting.co.th All rights reserved.
System developed by CRiT SERVICE | CHECK MAIL | BOOKMARK | NR SERVICE