สรุปมาตรการภาษีช่วยผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการ ภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ได้ รับผลกระทบจากการชุมนุม ทางการเมืองตามข้อเสนอของ กระทรวงการคลัง ซึ่งมี ทั้งมาตรการด้านเงินช่วย เหลือ ด้านประกันภัย และ ด้านทรัพย์สินและสินค้า ที่ถูกเพลิงไหม้

มาตรการภาษีด้านเงิน ช่วยเหลือมี 2 มาตรการย่อย คือ ผู้ได้รับผลกระทบจาก การชุมนุมทางการเมือง ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล (1) ไม่ต้องนำ เงินช่วยเหลือที่ได้รับ จากรัฐบาลและหรือ กรุงเทพมหานครมารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษี และ (2) นิติบุคคลที่ได้รับเงิน ช่วยเหลือในส่วนของเงิน เดือนประจำที่ได้จ่ายให้ ลูกจ้างไปแล้วตามบัญชี ไม่ต้องนำเงินช่วยเหลือมา รวมคำนวณเพื่อเสียภาษี

 

มาตรการภาษีด้านประกันภัย มี 3 มาตรการย่อย คือ บริษัทที่ประกอบกิจการประกันภัย สามารถหักรายจ่ายที่ เป็นเงินช่วยเหลือซึ่ง จ่ายให้แก่ผู้เอาประกัน ภัยที่ได้รับผลกระทบจาก การชุมนุมทางการเมือง, ผู้ เอาประกันภัยที่ได้รับผลก ระทบจากการชุมนุมทางการ เมือง ทั้งที่เป็นบุคคล ธรรมดาและนิติบุคคลไม่ ต้องนำเงินช่วยเหลือที่ ได้รับจากบริษัทที่ประกอบ กิจการประกันภัย มารวม คำนวณเพื่อเสียภาษี และ ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับ ผลกระทบจากการชุมนุม ทางการเมือง ทั้งที่เป็น บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ไม่ต้องนำค่าสินไหมทดแทน ที่ได้รับจากบริษัทที่ ประกอบกิจการประกันภัย เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่า ต้นทุนของทรัพย์สินที่ เหลือจากการหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษี

 

มาตรการภาษีด้านทรัพย์สิน และสินค้าที่ถูกเพลิง ไหม้ มีมาตรการย่อยดังนี้

ด้านทรัพย์สิน กรณี ทรัพย์สินที่เสียหายเป็น อสังหาริมทรัพย์ ให้หัก รายจ่ายได้เพิ่มอีก 1 เท่า ของมูลค่าอาคารที่เหลือ อยู่หลังจากถูกเพลิงไหม้ หรือหักรายจ่ายได้เพิ่ม อีก 50% ของมูลค่าอาคารในวันแรกที่สร้างเสร็จ แล้วแต่ อย่างใดจะมากกว่า,

กรณี ทรัพย์สินเสียหายที่เป็น สังหาริมทรัพย์ และไม่ สามารถซ่อมแซมได้ให้หัก รายจ่ายได้เพิ่มอีก 1 เท่า ของมูลค่าทรัพย์สินที่ เหลืออยู่หลังจากถูกเพลิง ไหม้ และกรณีทรัพย์สิน เสียหายที่เป็น สังหาริมทรัพย์ และได้มี การซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ให้หักรายจ่าย 2 เท่าของ มูลค่าการซ่อมแซม

สิทธิการเช่า ให้ผู้ เช่าที่มีสิทธิการเช่าใน อาคารที่ถูกเพลิงไหม้ และ ได้ก่อสร้างหรือจัดหา ทรัพย์สินใหม่ทดแทน หัก รายจ่ายดังกล่าวได้ 2 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 2 เท่าของ มูลค่าสิทธิการเช่าที่ เหลืออยู่ในวันที่ถูก เพลิงไหม้ โดยต้องไม่นำไป หักค่าสึกหรอหรือค่า เสื่อมราคาอีก

 

ด้านสินค้าที่เสียหายจนนำ ไปขายต่อไม่ได้และได้มี การทำลายสินค้านั้น กรณี ผู้ขายและผู้ฝากขายรับรู้ รายได้และเสียภาษีจาก มูลค่าการขายแล้วแต่ยัง ไม่ได้รับชำระเงิน ให้หัก รายจ่ายได้เพิ่มอีก 1 เท่า ของต้นทุนสินค้าที่เสีย หาย, หากผู้ขายและผู้ฝาก ขายได้ปลดหนี้ค่าสินค้า ให้แก่ลูกหนี้ให้สามารถนำ ไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญได้, ลูกหนี้ที่ได้รับการปลด หนี้ ไม่ต้องนำเงินได้จาก การปลดหนี้มารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษี, กรณี เจ้าของสินค้า/หรือผู้ ซื้อสินค้าได้ซื้อสินค้า มาขายต่อโดยได้ชำระราคา ค่าสินค้าแล้ว ให้หักราย จ่ายได้ 2 เท่าของมูลค่า ต้นทุนสินค้าที่เสียหาย ด้านค่าใช้พื้นที่ ผู้ได้ รับผลกระทบจากการชุมนุม ทางการเมือง ทั้งที่เป็น บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ไม่ต้องนำประโยชน์ที่ คำนวณได้จากมูลค่าการได้ ใช้พื้นที่เพื่อขายสินค้า หรือให้บริการโดยไม่เสีย ค่าตอบแทน มารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเสียภาษี

 

มาตรการ ภาษีที่นำเสนอ คาดว่า จะมี ผลกระทบต่อรายได้ภาษี บ้าง แต่จะเป็นการช่วย เยียวยาและบรรเทาความ เดือนร้อนให้กับผู้ที่ได้ รับผลกระทบจากการชุมนุม ทางการเมือง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการช่วยแก้ปัญหา สภาพคล่องและการขาดแคลน เงินทุนหมุนเวียนในการ ประกอบกิจการของผู้ที่ได้ รับผลกระทบจากการชุมนุม ทางการเมืองดังกล่าว



20 มกราคม 2554


Copyright (c) 2014 - 2024 narongaccounting.co.th All rights reserved.
System developed by CRiT SERVICE | CHECK MAIL | BOOKMARK | NR SERVICE