ร่างพรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลุยเก็บภาษีที่ดินว่างเปล่า

ร่างพรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ใช้เวลาผลักดันกว่า 10 ปี สาเหตุที่มีการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้นานเป็นสิบปีเนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งข้อสังเกตุและให้ความเห็นท้วงติงกันอย่างหลากหลายกว้างขวาง เนื่องจากเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีของประเทศโดยรวม

ตามร่างกฎหมายดังกล่าว หากมีการประกาศใช้ จะมีให้ยกเลิกพระราชบัญญัติต่อไปนี้

1. พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.. 2475

2. พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.. 2508

3. พระราชบัญญัติกำหนดราคาปานกลางของที่ดิน สำหรับการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ พ.. 2529

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

1. อัตราภาษี มี 3 อัตรา คือ

1. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั่วไป อัตราภาษีไม่เกินร้อยละ 0.5

2. ที่อยู่อาศัยของตนเอง โดยไม่ประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ ไม่เกินร้อยละ 0.1

3. ที่ดินประกอบเกษตรกรรม ไม่เกินร้อยละ 0.05 โดยคิดจากฐานภาษี

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเอกสารหน้า 13-16)

2. การบังคับใช้กฎหมาย

มีบทเฉพาะกาล 2 ปีหลังประกาศใช้กฎหมาย สำหรับเตรียมการจัดเก็บภาษีตามระบบใหม่

3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

ได้แก่ บุคคลธรรมดา นิติบุคคล ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ รวมถึงผู้มีหน้าที่เสียภาษีแทนการเสียภาษีแทนไม่เป็นเหตุให้เกินสิทธิตามกฎหมายอื่น

4. อำนาจในการจัดเก็บภาษี

องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นมีอำนาจจัดเก็บภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขต อปท.ของตนภาษีที่จัดเก็บได้ในเขตท้องถิ่นใดให้เป็นรายได้ของท้องถิ่นนั้นเช่นเดียวกับภาษีโรงเรือนและทิ่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ปัจจุบัน

5. ทรัพย์สินที่ไม่ต้องเสียภาษี

มีมายมาย เช่น เสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือสาธารณะประโยชน์โดยไม่ได้หาประโยชน์



21 สิงหาคม 2551


Copyright (c) 2014 - 2024 narongaccounting.co.th All rights reserved.
System developed by CRiT SERVICE | CHECK MAIL | BOOKMARK | NR SERVICE