แนวทางการจัดทำแบบ ภงด 51

แนวทางปฏิบัติกรมสรรพากร

ที่ มก.9/2550

เรื่อง การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฏากร

เพื่อให้การพิจารณากรณีที่จะถือว่า บริษัทหรือห้างหุ่นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฏากร โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยมีเหตุอันสมควร ซึ่งไม่ต้องรับผิดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฏากร เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฏากร ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกแนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรที่ มก. 1/2546 เรื่อง การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตร 67 ตรี แห่งประมวลรัษฏากร ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.. 2546

ข้อ 2 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครี่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว ถือว่ามีเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฏากร

ข้อ 3 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากการประกอบกิจการโดยมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ถือว่ามีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฏากร

(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการในรอบระยะเวลา 6เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ (รายได้จากการประกอบกิจการ ไม่รวมถึง การนำเงินไปหาประโยชน์โดยฝากธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ที่ได้รับมาก่อนไม่ว่าในรอบระยะเวลาบัญชีนี้หรือรอบระยะเวลาบัญชีก่อน)

(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เพื่อปรับปรุงรายได้เพิ่มขึ้น ตามข้อเท็จจริงของผลการตรวจสภาพกิจการ

(3) กรณีมีการขายทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนหลัง ของรอบระยะเวลาบัญชี และมีกำไรจากการขายทรัพย์สินดังกล่าว

(4) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำลง ทำให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดต่ำลงด้วย

(5) การส่งสินค้าออกมีความไม่แน่นอน ทั้งปริมาณและราคาสินค้า หรือมีการยกเลิกการควบคุมราคาหรือปริมาณสินค้าส่งออก

(6) การรับจ้างที่มีค่าจ้างไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้างและความยากง่ายของงานที่ทำ

(7) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ

ข้อ 4 ในการพิจารณาเหตุอันสมควร ให้เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาและเสนอความเห็นต่อผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติ ดังนี้

(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 ให้พิจารณาและเสนอความเห็นต่อผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภาษีกลาง หรือสรรพากรพื้นที่ แล้วแต่กรณี พิจารณาอนุมัติ

(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่มีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 แต่มีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 3 ให้พิจารณาเบื้องต้นว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่มีเหตุอันสมควร แล้วเสนอความเห็นจากการพิจารณาดังกล่าวผ่านสำนักมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี เพื่อพิจารณาเสนออธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติสำหรับสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่และสำนักตรวจสอบภาษีกลาง หรือให้เสนอความเห็นต่อสรรพากรภาคพิจารณาอนุมัติสำหรับสำนักงานสรรพากรพื้นที่ แล้วแต่กรณี

(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่มีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 3 แต่เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาเห็นว่ามีเหตุอันสมควร ให้เสนอความเห็นผ่านสำนักมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี เพื่อขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรเป็นแต่ละกรณี สำหรับสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่และสำนักตรวจสอบภาษีกลาง หรือให้เสนอความเห็นเพื่อขออนุมัติสรรพากรภาคเป็นแต่ละกรณี สำหรับสำนักงานสรรพากรพื้นที่แล้วแต่กรณี

ข้อ 5 กรณีปรับปรุงเหตุอันสมควร สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วปรากฎว่าประมาณการกำไรสุทธิรวมของทั้งสองประเภทกิจการขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิรวมซึ่งได้จากการประกอบกิจการ และประมาณการกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเช่นเดียวกัน ถือว่ามีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 6 ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฎิบัติใดที่ขัดแย้งกับคำสั่งนี้ให้ถือปฎิบัติตามแนวทางและตัวอย่างการคำนวณที่แนบท้ายแนวทางปฎิบัตินี้

ข้อ 7 กรณีมีเหตุที่ไม่สามารถปฎิบัติตามแนวทางปฎิบัตินี้ได้ ให้เสนอข้อเท็จจริงและความเห็นต่ออธิบดีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ

ข้อ 8 ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษีรักษาการตามแนวทางปฎิบัตินี้

ข้อ 9 ให้ถือปฎิบัติตั้งแต่วันที่ที่ลงในแนวทางปฎิบัตินี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.. 2550

พิชาติ เกษเรือง

(นายพิชาติ เกษเรือง)

รองอธิบดี ปฎิบัติราชการแทน

อธิบดีกรมสรรพากร



19 กรกฎาคม 2551


Copyright (c) 2014 - 2024 narongaccounting.co.th All rights reserved.
System developed by CRiT SERVICE | CHECK MAIL | BOOKMARK | NR SERVICE