สิทธิที่จะได้รับจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2551

ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงกำลังจะได้รับ สิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรม และเท่าเทียมกับลูกจ้างโดยตรงของสถานประกอบการ หากได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคมนี้ ปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ลูกจ้างโดยตรงของสถานประกอบการเท่านั้น ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการผลิตของประเทศ แต่ยังมีลูกจ้างรับเหมาค่าแรงเป็นส่วนหนึ่งที่ได้กระจายไปทำงานตามสถาน ประกอบการต่าง ๆ ตามแต่ผู้รับเหมาค่าแรงจะได้รับมอบหมายงานจากสถานประกอบการนั้น ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงจึงเป็นแรงงานที่ผู้รับเหมาค่าแรงส่งไปปฏิบัติงานเคียง ค้างกับลูกจ้างตรงของสถานประกอบการ

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2551 มีหลักสำคัญดังนี้

- กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง (เกิดจากผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางงาน) ที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้นแม้ว่าการจ้างเหมาแรงงาน (Sub Contractor) นายจ้างอาจจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสวัสดิการสิทธิประโยชน์ที่ต้องให้พนักงานจ้างเหมา

- ยกเลิก มาตรา 9 วรรค หนึ่ง ตัดคำว่าเงินออกใช้คำว่า เงิน ใช้คำว่า หลักประกันแทน หากผิดนักชำระเงินค่าจ้าง หรือผลประโยชน์อื่นใด ต้องจ่ายดอกเบี้ย 15% ต่อปี ห้ามเรียกรับหลักประกันใดใด นอกจากเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเงินทอง กรณีเรียกหลักประกัน ให้คืนพร้อมดอกเบี้ยภายใน 7 วัน

- การปรับปรุงข้อบังคับการทำงานที่ขัดกับกฎหมายใหม่ นายจ้างจะต้องแก้ไขสัญญาจ้าง แก้ไขข้อบังคับ
เกี่ยวกับการทำงานให้รัดกุม และหากข้อบังคับหรือสัญญาจ้างเอาเปรียบลูกจ้างเกินควร ศาลมีอำนาจยกเลิก
              

- การทำสัญญาจ้างลูกจ้างทดลองงานสามารถยกเลิกได้ทุกเมื่อ โดยนายจ้างจ่ายตามจำนวนที่ต้องจ่ายและให้ลูกจ้างออกทันที

- ตามมาตรา 23 การประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ แต่ละวันไม่เกิน 8 ชั่วโมง กรณีวันใดน้อยกว่า 8 ชั่งโมง ให้นำไปรวมเวลาทำงานปกติแต่ต้องไม่เกิน 9 ชั่วโมงต่อวัน และสัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 48 ชั่วโมง ยกเว้นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจะกำหนดอีกแบบ และ กรณีที่นำเวลาทำงานส่วนขาดไปรวมเวลาทำงานปกติ ส่งผลให้ทำงานเกิน 8 ชั่วโมง ส่วนเกินให้คิดค่าแรงเท่าครึ่ง

- ข้อกำหนดเพิ่มเติม กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างในการจ้างแรงงานซึ่งเป็นเด็ก และสตรี

- กรณีนายจ้างเลิกจ้าง ให้จ่ายค่าจ้างตามวันหยุดผักผ่อนประจำปีที่ยังเหลือด้วย
 

- มาตรา 75 นายจ้างเลิกกิจการ ต้องจ่าย จากเดิม 50% ของค่าจ้าง เปลี่ยนเป็น 75 % ของ
เงินค่าจ้างในวันทำงาน และแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน

- การจ่ายค่าชดเชย หรือการจ่ายค่าชดเชยพิเศษ กรณีย้ายสถานประกอบการ และกระทบต่อลูกจ้าง ต้องจ่ายเงินชดเชย

-





21 พฤษภาคม 2551


Copyright (c) 2014 - 2024 narongaccounting.co.th All rights reserved.
System developed by CRiT SERVICE | CHECK MAIL | BOOKMARK | NR SERVICE