ภาระภาษีกรณีจ่า่ยเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการและผู้ถือหุ้น

กรมสรรพากรมีคำวินิจฉัยโดยสรุปดังนี้ ? ค่าเบี้ยประกันชีวิตของกรรมการ หากต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัท สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ และเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกรรมการต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ? ค่าเบี้ยประกันชีวิตของผู้ถือหุ้น ถือเป็นรายจ่ายส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา ไม่สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทน ถือเป็นรายได้ซึ่งผู้ถือหุ้นจะต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษีที่บริษัทจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต ? ผลประโยชน์ที่บริษัทได้รับตามกรมธรรม์เนื่องจากกรรมการหรือผู้ถือหุ้นเสียชีวิต ถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ ส่วนเงินค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทได้รับเนื่องจากผู้ถือหุ้นเสียชีวิต แล้วนำไปซื้อหุ้นคืนจากทายาทผู้ถือหุ้น เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่บังเกิดผลเป็นการเพิ่มเติมทรัพย์สินของบริษัท จึงถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน และเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร (อ้างอิง : หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรที่ กค 0706/8707 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2549)

28 กรกฎาคม 2550


Copyright (c) 2014 - 2024 narongaccounting.co.th All rights reserved.
System developed by CRiT SERVICE | CHECK MAIL | BOOKMARK | NR SERVICE