เปรียบเทียบกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันกับร่างกฎหมายที่เสนอใหม่ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

บัญชีเปรียบเทียบกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันกับร่างกฎหมายที่เสนอใหม่ ลำดับที่ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจ ของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจ ของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. สาระสำคัญที่แก้ไข เหตุผล 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. ?คนต่างด้าว? หมายความว่า (1) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (2) นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย (3) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย และมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) นิติบุคคลซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่ง ของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) หรือ (2) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น (ข) ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ จดทะเบียน ซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นบุคคลตาม (1) (4) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น เพื่อประโยชน์แห่งคำนิยามนี้ให้ถือว่าหุ้นของบริษัทจำกัดที่มีใบหุ้นชนิดออกให้แก่ ผู้ถือเป็นหุ้นของคนต่างด้าว เว้นแต่จะได้มีกฎกระทรวงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น? ?มาตรา 35 คนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจใดตามพระราชบัญญัตินี้หากร่วมทำธุรกิจอันเป็นของคนต่างด้าวรายอื่นซึ่งมิได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัตินี้หรือประกอบธุรกิจที่คนต่างด้าวรายอื่นนั้นเป็นเจ้าของร่วมโดยแสดงออกว่าเป็นธุรกิจของตนแต่ผู้เดียว เพื่อให้คนต่างด้าวรายอื่นนั้นหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเลิกการร่วมทำธุรกิจหรือการประกอบธุรกิจนั้นเสีย หาก ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลต้องระวางโทษปรับวันละหนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่? ?มาตรา 36 ผู้มีสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลที่มิใช่คนต่างด้าวตามพระราชบัญญัตินี้ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนหรือร่วมประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อันเป็นธุรกิจที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้โดยคนต่างด้าวนั้นมิได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าว หรือร่วมประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวโดยแสดงออกว่าเป็นธุรกิจของตนแต่ผู้เดียวหรือถือหุ้นแทนคนต่างด้าวในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดหรือนิติบุคคลใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งคนต่างด้าวซึ่งยินยอมให้ผู้มีสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลที่มิใช่คนต่างด้าวตามพระราชบัญญัตินี้กระทำการดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งให้เลิกการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุน หรือสั่งให้เลิกการร่วมประกอบธุรกิจ หรือสั่งให้เลิกการถือหุ้น หรือการเป็นหุ้นส่วนนั้นเสีย แล้วแต่กรณี หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม คำสั่งศาลต้องระวางโทษปรับวันละหนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่? ?มาตรา 37 คนต่างด้าวผู้ใดประกอบธุรกิจ โดยฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 7 หรือมาตรา 8 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเลิกการประกอบธุรกิจ หรือเลิกกิจการ หรือสั่งเลิกการเป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนแล้วแต่กรณี หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลต้องระวางโทษปรับวันละหนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่? มาตรา 41 ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 หรือมาตรา 37 กรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลซึ่งรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดนั้น หรือมิได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ บัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 บัญชีสาม ฯลฯ (18) การนำเที่ยว ฯลฯ (13) การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้ (14) การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำรวมท้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทหรือที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านน้อยกว่ายี่สิบล้านบาท (15) การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท (21) การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า ?พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ฉบับที่..) พ.ศ. ?.? มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกคำนิยาม ?คนต่างด้าว? ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ??คนต่างด้าว? หมายความว่า (1) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (2) นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย (3) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย และมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) นิติบุคคลซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) หรือ (2) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอำนาจตามกฎหมายหรือตามข้อบังคับหรือตามข้อตกลงในการออกเสียงลงคะแนนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น (ข) ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน ซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นบุคคลตาม (1) (4) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น เพื่อประโยชน์แห่งคำนิยามนี้ให้ถือว่าหุ้นของบริษัทจำกัดที่มีใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือเป็นหุ้นของคนต่างด้าว เว้นแต่จะได้มีกฎกระทรวงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น? มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?มาตรา 35 คนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจใดตามพระราชบัญญัตินี้หากร่วมทำธุรกิจอันเป็นของคนต่างด้าวรายอื่นซึ่งมิได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัตินี้หรือประกอบธุรกิจที่คนต่างด้าวรายอื่นนั้นเป็นเจ้าของร่วมโดยแสดงออกว่าเป็นธุรกิจของตนแต่ผู้เดียว เพื่อให้คนต่างด้าวรายอื่นนั้นหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเลิกการร่วมทำธุรกิจหรือการประกอบธุรกิจนั้นเสีย หาก ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลต้องระวางโทษปรับวันละห้าหมื่นบาทถึงสองแสนห้าหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่? มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?มาตรา 36 ผู้มีสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลที่มิใช่คนต่างด้าวตามพระราชบัญญัตินี้ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนหรือร่วมประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อันเป็นธุรกิจที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้โดยคนต่างด้าวนั้นมิได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าว หรือร่วมประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวโดยแสดงออกว่าเป็นธุรกิจของตนแต่ผู้เดียวหรือถือหุ้นแทน คนต่างด้าวในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดหรือ นิติบุคคลใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งคนต่างด้าวซึ่งยินยอมให้ผู้มีสัญชาติไทยหรือ นิติบุคคลที่มิใช่คนต่างด้าวตามพระราชบัญญัตินี้กระทำการดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งให้เลิกการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุน หรือสั่งให้เลิกการร่วมประกอบธุรกิจ หรือสั่งให้เลิกการถือหุ้น หรือการเป็นหุ้นส่วนนั้นเสีย แล้วแต่กรณี หาก ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลต้องระวางโทษปรับวันละห้าหมื่นบาทถึงสองแสนห้าหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยัง ฝ่าฝืนอยู่? มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?มาตรา 37 คนต่างด้าวผู้ใดประกอบธุรกิจ โดยฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 7 หรือมาตรา 8 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเลิกการประกอบธุรกิจ หรือเลิกกิจการ หรือสั่งเลิกการเป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนแล้วแต่กรณี หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลต้องระวางโทษปรับวันละห้าหมื่นบาทถึงสองแสนห้าหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่? มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?มาตรา 41 ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 หรือมาตรา 37 กรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลซึ่งรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดนั้น หรือมิได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้น ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นด้วย? มาตรา 8 นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่ไม่เป็นคนต่างด้าวตามคำนิยามของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แต่เป็นคนต่างด้าวตามคำนิยามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ และประกอบธุรกิจประเภทที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้อยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากประสงค์จะประกอบธุรกิจนั้นต่อไป ให้ดำเนินการแจ้งต่ออธิบดีเพื่อขอหนังสือรับรองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อได้รับหนังสือรับรองแล้ว ให้ประกอบธุรกิจนั้นต่อไปได้ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ถ้าเป็นธุรกิจตามบัญชีสาม ให้ประกอบธุรกิจ นั้นต่อไปได้จนกว่าจะเลิกประกอบธุรกิจ (2) ถ้าเป็นธุรกิจตามบัญชีหนึ่งหรือบัญชีสอง ให้ประกอบธุรกิจนั้นต่อไปได้เป็นเวลาสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งหากมิได้แจ้งขอหนังสือรับรองภายในระยะเวลาที่กำหนดและยังฝ่าฝืนประกอบธุรกิจนั้นต่อไป หรือกรณีเป็นธุรกิจตามบัญชีหนึ่งหรือบัญชีสองยังฝ่าฝืนประกอบธุรกิจนั้นต่อไปเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาสองปีให้ถือว่าประกอบธุรกิจนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 9 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 7 หรือมาตรา 8 ซึ่งกำหนดโทษไว้ตามมาตรา 37 หรือฝ่าฝืนมาตรา 35 หรือมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าได้แจ้งถึงการกระทำ ดังกล่าวต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ ภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและแก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง จนไม่อยู่ในข่ายที่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 35หรือมาตรา 36 หรือ เลิกประกอบธุรกิจที่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ดังกล่าว แล้วแต่กรณี ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับผู้นั้นไม่ต้องรับโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับกับผู้ ฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 35 หรือมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวนหรือศาล มาตรา 10 ให้ยกเลิก (18) ของบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มาตรา 11 ให้ยกเลิกความใน (13) (14) (15) และ (21) ของบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?(13) การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ยกเว้น การซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้า (14) การค้าปลีกสินค้าทุกประเภท (15) การค้าส่งสินค้าทุกประเภท (21) การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้น (ก) ธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ข) ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจอนุพันธ์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ค) ธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (ง) ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิต ฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจ เงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (จ) ธุรกิจบริการอื่นตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง? - - เพิ่มเติมคำนิยาม ?คนต่างด้าว? ให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยและมีคนต่างด้าวทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลมีอำนาจตามกฎหมายหรือตามข้อบังคับหรือตามข้อตกลงในการออกเสียงลงคะแนนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น เพิ่มโทษปรับให้สูงขึ้นจากระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาทเพิ่มเป็นระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาทและเพิ่มโทษปรับรายวันจากวันละหนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาทเป็นวันละห้าหมื่นบาทถึงสองแสนห้าหมื่นบาท เช่นเดียวกับการ แก้ไขลำดับที่ 2 เช่นเดียวกับการ แก้ไขลำดับที่ 2 กำหนดบทเฉพาะกาลให้นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่ไม่เป็นคนต่างด้าวตามคำนิยามตามกฎหมายเดิมแต่เป็นคนต่างด้าวตามคำนิยามที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่นี้ หากประสงค์จะประกอบธุรกิจต่อไป ต้องแจ้งต่ออธิบดีภายในหนึ่งปีเพื่อขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจแล้ว สามารถประกอบธุรกิจตามบัญชีตามต่อไปได้ส่วนธุรกิจตามบัญชีหนึ่งหรือบัญชีสองสามารถประกอบธุรกิจได้ไม่เกินสองปี กำหนดบทเฉพาะกาลให้ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 7 หรือมาตรา 8 ซึ่งกำหนดโทษไว้ตามมาตรา 37 หรือฝ่าฝืนมาตรา 35 หรือมาตรา 36 ถ้าได้แจ้งต่อทางราชการภายในเก้าสิบวันและแก้ไขโดยปฏิบัติตามกฎหมายภายในหนึ่งปีจะไม่ต้องรับโทษ ทั้งที่ไม่รวมถึงผู้อยู่ในระหว่างการดำเนินคดี ยกเลิก (18) ของบัญชีสาม เพิ่มข้อยกเว้นให้คนต่างด้าวสามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้า ตัดจำนวนทุนขั้นต่ำที่ยกเว้นให้คนต่างด้าวสามารถประกอบธุรกิจได้ออก ตัดจำนวนทุนขั้นต่ำที่ยกเว้นให้คนต่างด้าวสามารถประกอบธุรกิจได้ออก เพิ่มข้อยกเว้นให้คนต่างด้าวสามารถประกอบธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจอนุพันธ์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ - - เพื่อป้องกันมิให้มีคนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจโดยอาศัยช่องว่างของกฎหมาย โดยการกำหนดหุ้นบุริมสิทธิให้คนต่างด้าวมีสิทธิออกเสียงมากกว่าคนไทย โทษปรับตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเดิมมีอัตราต่ำทำให้ไม่เกิดความเกรงกลัว สมควรเพิ่มโทษให้สูงขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับการกระทำความผิด เช่นเดียวกันการแก้ไขลำดับที่ 2 เช่นเดียวกับการ แก้ไขลำดับที่ 2 เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงคำนิยามดังกล่าวสามารถประกอบธุรกิจตามบัญชีสามได้ต่อไปหรือหากประกอบธุรกิจตามบัญชีหนึ่งหรือสอง ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวกับความปลอดภัยมั่นคงก็ต้องปรับตัวหรือเลิกประกอบธุรกิจภายในสองปี เพื่อเพิ่มมาตรการจูงใจให้ผู้กระทำผิดได้มีโอกาสกลับใจเลิกทำผิดและยอมปฏิบัติตามกฎหมาย โดยทางราชการไม่ต้องยุ่งยากติดตามตรวจสอบจับกุม ผู้กระทำผิด เนื่องจากธุรกิจ ดังกล่าวมีกฎหมายเฉพาะกำกับดูแลอยู่แล้ว และมีบทบัญญัติไม่ให้นำกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวไปใช้บังคับ เพราะลักษณะการซื้อขายจะเป็นการซื้อขายตราสารซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีการส่งมอบสินค้ากันจริง การยกเว้นดังกล่าวจะเสริมสภาพคล่องให้แก่ตลาดฯ และช่วยเหลือเกษตรกรให้มีเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตร รวมทั้งส่งเสริมธุรกิจด้านนี้ในตลาดฯ ให้ได้รับความน่าเชื่อถือทัดเทียมกับต่างประเทศ เพื่อให้คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจค้าปลีกทุกรายต้องขออนุญาต เพื่อให้คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจค้าส่ง ทุกรายต้องขออนุญาต เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวมีกฎหมายเฉพาะควบคุมและมีหน่วยงานกำกับดูแลโดยตรงอยู่แล้ว จึงไม่ควรต้องขออนุญาตตามกฎหมายนี้อีก

19 มกราคม 2550


Copyright (c) 2014 - 2024 narongaccounting.co.th All rights reserved.
System developed by CRiT SERVICE | CHECK MAIL | BOOKMARK | NR SERVICE