ผลกระทบจากการเปลี่ยนมาตรฐานบัญชีไทยสู่ IAS

สะท้อนกำไรสุทธิที่สูงขึ้น 1) ไม่อนุญาตให้ตัดจำหน่ายค่าความนิยม (Goodwill) อีกต่อไป หลักการใหม่ IFRS 3 ต้องไม่ตัดจำหน่ายค่าความนิยมที่ได้มาจากการรวมธุรกิจอีกต่อไป แต่ต้องทดสอบการด้อยค่าของค่าความนิยมสำหรับทุกงวดปีบัญชีเป็นอย่างน้อย หรือบ่อยครั้งกว่านั้น หากสถานการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์บ่งชี้ว่าค่าความนิยมนั้นอาจเกิดการด้อยค่า หลักการเดิม หากค่านิยมเป็นบวกให้ตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 20 ปี หากเป็นลบ ให้แสดงเป็นสินทรัพย์ที่ติดลบไว้ในรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 2) การให้บันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการทำ Plant shutdown หรือ Maintenance ต่างๆ เป็นสินทรัพย์ หลักการใหม่ IAS 16 ต้องบันทึกรายจ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นส่วนหนึ่งของราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ หากมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่รายการนั้นจะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต และสามารถกำหนดราคาทุนของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ หลักการเดิม บริษัทส่วนใหญ่จะบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ อาทิ ค่าใช้จ่ายในการทำ Plant Shutdown หรือทำ Maintenance ต่างๆ เป็นค่าใช้จ่ายแทนที่จะบันทึกเป็นสินทรัพย์เพราะบางครั้งไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจนว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้ในอนาคต 3) การให้คิดดอกเบี้ยจ่ายทั้งจำนวนสำหรับเงินกู้ยืมที่ใช้ในการก่อสร้างสินทรัพย์เป็นต้นทุนของสินทรัพย์ หลักการใหม่ ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ส่วนที่ตีราคาเพิ่มขึ้น ให้ตัดไปสู่บัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาเพิ่ม หลักการเดิม ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ส่วนที่ตีราคาเพิ่มขึ้น สามารถตัดผ่านงบกำไรขาดทุนและตัดผ่านบัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาเพิ่มในส่วนของผู้ถือหุ้น 4) การคิดค่าเสื่อมราคาสำหรับการสินทรัพย์ที่มีการตีราคาเพิ่ม ให้บันทึกตัดไปสู่บัญชีส่วนเกินทุน ไม่ต้องผ่านงบกำไรขาดทุนเช่นในปัจจุบัน หลักการใหม่ IAS 16 ไม่อนุญาตให้นำดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นจากเงินกู้ยืมที่นำมาใช้พัฒนางานระหว่างก่อสร้างเข้าเป็นรายการที่ดินอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้เป็นทางเลือกของผู้บริหารว่าจะบันทึกบัญชีเป็นดอกเบี้ยจ่ายหรือเป็นสินทรัพย์ (Capitalized Asset) ต่อจากนี้ไปจะต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์เท่านั้น (คล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์การคิดค่าใช้จ่ายทางภาษีของกรมสรรพากร) หลักการเดิม ให้สามารถเลือกปฎิบัติได้ขึ้นกับแต่ละบริษัท ส่วนของผู้ถือหุ้นและศักยภาพการจ่ายปันผลลดลง 1) การให้ยกเลิกวิธีการบัญชีในลักษณะส่วนได้เสีย (Equity method) ในงบเดี่ยว หลักการใหม่ IAS 27 ให้ยกเลิกวิธีการบัญชีในลักษณะส่วนได้เสีย (Equity Method) ในงบเดี่ยว (งบการเงินรวมที่เป็น Equity Method ให้คงไว้เหมือนเดิม) โดยให้ใช้วิธีราคาทุน (CostMethod ซึ่งใช้มาตั้งแต่ก่อนปี 2537 แต่ได้ถูกยกเลิกไป) ทั้งนี้ งบการเงินของบริษัทแม่ จะมีการรับรู้รายได้จากบริษัทลูก ซึ่งได้แก่ บ.ร่วม และ บ.ย่อย ก็ต่อเมื่อ บริษัทลูก มีการประกาศจ่ายเงินปันผล (ยึดถือตั้งแต่วันประกาศจ่ายตามเกณฑ์ค้างรับ หรือ Accrual Basis ไม่ต้องรอถึงวันที่จ่ายจริง)ทั้งนี้ เกณฑ์ใหม่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 31 ธ.ค.49 นี้ โดยให้ทำการปรับปรุงงบการเงินย้อนหลัง(Restated Financial Statement) ให้เสมือนกับใช้วิธีราคาทุนมาตั้งแต่แรก โดยผลต่างที่เกิดขึ้นให้ดำเนินการดังนี้ 1) ปรับปรุงออกจากงบกำไรสะสมทันทีในงวดนั้น (หากไม่พร้อมสามารถเลื่อนไปเป็นงวด1Q50) 2) เปลี่ยนแปลงทันทีในวันที่ 1 ม.ค.50 โดยให้เปรียบเทียบจำนวนที่ได้จากสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทลูก ไปคูณด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกที่เป็นบริษัทร่วม กับจำนวนที่ได้จากเงินลงทุนในบริษัทลูกที่เป็นบริษัทร่วม ในกรณีที่เงินลงทุนในบริษัทลูกสูงกว่า ให้ลดเงินลงทุนของบริษัทลูกลง แต่ในกรณีที่ต่ำกว่าก็ให้ดำเนินการเพิ่มเงินลงทุนดังกล่าวซึ่งบริษัทที่มีปัญหาเรื่องความไม่เพียงพอของฐานเงินกองทุนส่วนใหญ่จะใช้วิธีที่ ) หลักการเดิม ให้จัดทำงบการเงินเดี่ยวที่เป็น Equity Method พร้อมกับงบการเงินรวม ที่เป็นEquity Method โดยกำไรสุทธิทั้ง 2 วิธีจะต้องแสดงเป็นจำนวนที่เท่ากัน 2) การไม่อนุญาตให้ใช้วิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือแบบ LIFO อีกต่อไป หลักการใหม่ IAS 2 ไม่อนุญาตให้ใช้วิธี LIFO (Last in ? First out) ในการคำนวณต้นทุนสินค้าคงเหลืออีกต่อไป หลักการเดิม บริษัทสามารถเลือกใช้วิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือได้ 3 วิธี ได้แก่ LIFO, FIFO และWeighted Average 3. ต้องวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงิน และรับรู้กำไร/ขาดทุนเข้างบกำไรขาดทุนทันที หลักการใหม่ IAS 39 ต้องวัดค่าสินทรัพย์หรือหนี้สินทางการเงินที่วัดค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม และรับรู้รายการกำไรหรือขาดทุน ไปยังงบกำไรขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น หลักการเดิม บริษัทไม่จำเป็นต้องวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินทุกรายการ และไม่จำเป็นต้องบันทึกการด้อยค่าที่เกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายผ่านทางงบกำไรขาดทุนทุกรายการ IAS ฉบับใหม่ นำไปสู่การนำเสนองบการเงินรูปแบบใหม่ทั้งหมด 1. งบดุล การนำเสนองบดุลด้านสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัททั่วไป จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอ โดยสินทรัพย์นั้น จะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ Operating Assets (ประกอบด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ และสินทรัพย์ถาวร) และ Treasury Assets (ประกอบด้วย เงินให้กู้ยืม และเงินลงทุน ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยรับ และเงินปันผล) ด้านหนี้สิน ประกอบด้วย หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายเท่านั้น สำหรับส่วนของผู้ถือหุ้นให้แสดงเช่นเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ กลุ่มสถาบันการเงินยังไม่ได้กำหนดรูปแบบที่ชัดเจนแต่อย่างใด 2. งบกำไรขาดทุน เน้นหลักการนำเสนอที่เป็น Comprehensive Income Statement หลักการคือ รายการที่ไม่แสดงผ่านงบกำไรขาดทุนในอดีต จะต้องรับรู้ในงบกำไรขาดทุนจากนี้ไป อาทิ กำไร/ขาดทุน ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงสำหรับเงินลงทุนทุกประเภท จะต้องแสดงผ่านงบกำไรขาดทุนทั้งหมด ส่วนรูปแบบการนำเสนองบการเงินนั้นจะคล้ายคลึงกับการจัดแบ่งตามงบกระแสเงินสด เพื่อช่วยให้การดูงบการเงินง่ายขึ้นในลักษณะที่เป็น Finance Decision แหล่งข้อมูลจาก Asia Plus Securities

29 ธันวาคม 2549


Copyright (c) 2014 - 2024 narongaccounting.co.th All rights reserved.
System developed by CRiT SERVICE | CHECK MAIL | BOOKMARK | NR SERVICE