ความคืบหน้าการแก้ไขปรับปรุง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27,32,44

สภาวิชาชีพบัญชีแจ้งข่าวความคืบหน้า ของการแก้ไขมาตรฐานการบัญชี ดังนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2549 คณะกรรมการกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (กกบ.) ได้มีการประชุม กกบ. ครั้งที่ 5 (2/2549) ซึ่งได้มีมติเห็นชอบเรื่องมาตรฐานการบัญชี สรุปประเด็นความคืบหน้าได้ดังนี้ เรื่องที่ 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2549) กกบ. เห็นชอบมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2549) เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีฯจะดำเนินการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป เรื่องที่ 2 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 การปฏิบัติตามวิธีการบัญชีในการวัดมูลค่าสินทรัพย์เพื่อเป็นทางเลือกเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ กกบ. เห็นชอบ ข้อเสนอของสภาวิชาชีพบัญชีฯเรื่องนี้ โดยให้เสนอทางเลือกกับบริษัท โดยหากบริษัทต้องการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล IAS บริษัทสามารถดำเนินการได้ และสำหรับบริษัทที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานสากล IAS ได้ เนื่องจากมีปัญหาอุปสรรค ก็ให้สามารถเลือกปฏิบัติได้ตามรูปแบบราคาทุน โดยค่าเสื่อมราคาที่จะนำหักในงบกำไรขาดทุนให้คำนวณจากราคาทุนเดิมของทรัพย์สิน ส่วนค่าเสื่อมราคาของส่วนที่ตีเพิ่มให้นำไปหักออกจากบัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม โดยให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการปฎิบัติตามทางเลือกไว้ในงบการเงินด้วย ทั้งนี้ สภาวิชาชีพบัญชีฯ จะดำเนินการออกประกาศ เรื่อง วิธีการบัญชี ?การตีราคาเพิ่ม ตามเกณฑ์ราคาทุนในเร็วๆนี้ เรื่องที่ 3 มาตรฐานการบัญชี ฉบับ 44 การปฏิบัติตามวิธีการบัญชีเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย กกบ. เห็นชอบข้อเสนอของสภาวิชาชีพบัญชีฯ (1) ให้แก้ไขมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 ย่อหน้า 27 ดังนี้ ? เมื่อเสนองบการเงินเฉพาะกิจการ ให้บริษัทใหญ่ที่มีการลงทุนในบริษัทย่อย กิจการที่มีอำนาจควบคุมร่วม และบริษัทร่วมที่ไม่จัดจำแนกเป็น ?การถือเพื่อขาย? (held for sale) ให้บริษัทใหญ่บันทึกเงินลงทุนด้งกล่าวตามวิธี ก) ราคาทุน หรือ ข) ตามเกณฑ์การรับรู้ และ การวัดมูลค่า ตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้)? (2) การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีจากวิธีส่วนได้เสียเป็นวิธีราคาทุนสามารถกระทำได้ สำหรับงบการเงินปี 2549 เป็นต้นไป โดยให้ปรับปรุงงบการเงินย้อนหลัง (ถ้ากระทำได้) หรืออาจจะใช้ราคาตามบัญชี ณ วันที่เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีเป็นราคาทุนเริ่มต้น ณ วันที่เปลี่ยนนโยบายบัญชี โดยจะต้องคำนึงถึงรายการที่ได้บันทึกตามวิธีส่วนได้เสียไปแล้วจะต้องไม่นำมาบันทึกซ้ำอีกในเวลาต่อมา เช่น การบันทึกกำไรจากบริษัทย่อยไว้แล้ว และหลังจากเปลี่ยนนโยบายบัญชีเป็นวิธีราคาทุน บริษัทย่อยจ่ายเงินปันผลมาให้ บริษัทใหญ่จะต้องไม่บันทึกเงินปันผลรับนั้นเป็นรายได้ซ้ำอีก แต่ให้นำไปปรับปรุงเงินลงทุนที่ยกมาแทน สำหรับกิจการที่ไม่ประสงค์จะใช้วิธีราคาทุนในปี 2549 ก็ให้ใช้วิธีส่วนได้เสียไปตามเดิมจนถึงสิ้นปี 2549 และให้ใช้วิธีราคาทุนเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป (3) ให้คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีกำหนดมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 ทั้งฉบับให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีสากล (ฉบับปี 2005) โดยให้มีผลบังคับใช้ปฏิบัติสำหรับงบการเงินในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป และหากบริษัทใดสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่กำหนดได้ ก่อนวันที่มาตรฐานการบัญชีดังกล่าวมีผลบังคับใช้ก็ให้สามารถดำเนินการได้ทันที ที่มา http://www.fap.or.th/info/detail.php?sid=418&type=030

19 ตุลาคม 2549


Copyright (c) 2014 - 2024 narongaccounting.co.th All rights reserved.
System developed by CRiT SERVICE | CHECK MAIL | BOOKMARK | NR SERVICE